วันจันทร์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2553

คีย์บอร์ด"ดีไซน์แมงกะพรุนแค่ 5 ปุ่มก็พอ


Erik Campbell นักออกแบบได้ดีไซน์คีย์บอร์ดคอมพิวเตอร์ที่มีการใช้งานคล้ายกับคอร์ดบนคีย์บอร์ดเครื่องดนตรีแทนการใช้ปุ่มตัวอักษรแบบ QWERTY ทีเราคุ้นเคย โดยผู้ใช้สามารถใช้มือเดียว เพื่อพิมพ์ตัวอักษรที่ต้องการได้ด้วยการกดปุ่ม 5 ปุ่มผสมกันลักษณะคล้ายลิ่มเปียโน แต่ดีไซน์ใหม่เขาได้ไอเดียมาจากแมงกะพรุนสำหรับต้นแบบคีย์บอร์ดที่ใช้การพิมพ์แบบคอรด์ (chorded keyboard) ได้ถูกออกแบบมาตั้งแต่ปี 1968 (ประมาณ 42 ปีที่แล้ว) โดย Doug Engelbart โดยชุดอุปกรณ์ประกอบด้วยลิ่มคีย์บอรด์ 5 อัน สามารถกดทีละตัว หรือผสมกัน เพื่อให้มันแสดงตัวอักษรต่างๆ ที่ต้องการได้ ซึ่งสามารถใช้แทนคีย์บอร์ดคอมพิวเตอร์มาตรฐานทีใช้เป็นแป้นตัวอักษร QWERTY ได้อย่างสมบูรณ์ ดังรูป
ดีไซน์ของ Campbell ได้เปลี่ยนดีไซน์ที่มีลักษณะคล้ายลิ่มคีย์บอร์ดเครื่องดนตรีแบบเดิมๆ ให้มีลักษณะเป็นวงกลมนูนตรงกลาง และมีปุ่ม 5 ปุ่มอ่อนนุ่มให้กดได้ เจ้าตัวบอกว่า ดีไซน์ทีเห็นนีได้รับแรงบันดาลใจมาจากแมงกะพรุน อ่านมาถึงตรงนี้ หลายคนคงจะสงสัยสิว่า Chorded Keyboard ที่มีแค่ 5 ปุ่มจะใช้แทนคีย์บอรด์ QWERTY ได้อย่างไร ลองชมคลิปที่นำมาฝากข้างล่างนี้ดูนะครับ ที่น่าทึ่งมากๆ ก็คือมันทำหน้าที่แทนเมาส์ได้อีกด้วย เรียกได้ว่า ดีไซน์ใหม่ของ Campbell เท่ากับเป็นการผสมผสานเมาส์เข้ากับคีย์บอร์ดได้อย่างลงตัวนั่นเอง...ว้าว!!!

วันศุกร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2553

CCleaner ใช้ทำอะไร


CCleaner คือโปรแกรมสำหรับใช้ทำความสะอาดไฟล์ขยะและไฟล์ชั่วคราวต่างๆ ของวินโดวส์ ซึ่งพัฒนาโดยทีมพัฒนาของ Periform Limited ในประเทศอังกฤษ เป็นซอฟต์แวร์ที่เปิดให้ใช้งานกันฟรีๆ
การดาวน์โหลดโปรแกรม CCleanerสำหรับท่านที่สนใจใช้งาน สามารถทำการดาวน์โหลด CCleaner 2.14.750 ได้จากเว็บไซต์ CCleaner หรือจากเว็บไซต์ Filehippo ซึ่งไฟล์จะมีขนาดประมาณ 2.904 MB

วันพฤหัสบดีที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2553

โปรแกรม Open Office คืออะไร


โปรแกรม OpenOffice เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับการจัดงานเอกสารในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโปรแกรมWord processing (ใช้ทดแทน Word)Spreadsheets (ใช้ทดแทน Excel)Presentations (ใช้ทดแทน Power Point)Databases (ใช้ทดแทน Access)ฯลฯซึ่งจุดเด่นที่น่าสนใจของโปรแกรม Open Office นั้นมีหลายข้อด้วยกันไม่ว่าจะเป็น ตัวโปรแกรมนั้นมีหลายภาษา (รวมทั้งภาษาไทย)สามารถทำงานในคอมพิวเตอร์ทั่วไปทั้งหมด โดยจะเก็บข้อมูลของเอกสารในรูปแบบที่เป็นมาตรฐานสากล- คุณสามารถเปิดอ่านและเขียนไฟล์จากเอกสารนั้นได้ง่ายและที่สำคัญที่สุดนั้น โปรแกรม Open Office นั้นเป็น Open Source ซึ่งไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในเรื่องลิขสิทธิ์หากคุณเริ่มสนใจทางเลือกนี้ คุณสามารถที่จะดาวน์โหลดโปรแกรม Open Office ได้ที่เว็บไซต์ทางการของ Open Office ได้เลยที่ http://www.osdev.co.th/ ถ้ายังรู้สึกว่าเปลี่ยนใจจาก Windows ยังไม่ได้ ลองหาทางเลือกใหม่เกี่ยวกับการจัดงานเอกสารเป็น Open Office

วันอังคารที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2553

Wilress WI-FI Wi-Max คืออะไร ?


WIFI หรือ Wirelss หมายถึง เครือข่ายไร้สาย มักใช้กับระบบเครือข่าย ไม่ว่าจะเป็นในองค์กร หรือในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตระบบเครือข่ายไร้สาย (Wireless LAN : WLAN) หมายถึง เทคโนโลยีที่ช่วยให้การติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องค อมพิวเตอร์ 2 เครื่อง หรือกลุ่มของเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถสื่อสารกันได้ ร่วมถึงการติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กั บอุปกรณ์เครือข่ายคอมพิวเตอร์ด้วยเช่นกัน โดยปราศจากการใช้สายสัญญาณในการเชื่อมต่อ แต่จะใช้คลื่นวิทยุเป็นช่องทางการสื่อสารแทน การรับส่งข้อมูลระหว่างกันจะผ่านอากาศ ทำให้ไม่ต้องเดินสายสัญญาณ และติดตั้งใช้งานได้สะดวก WIFI คืออะไร Wi-Fi ก็คือองค์กรหนึ่ง ที่ทดสอบผลิตภัณฑ์ Wireless Lan หรือระบบ Network แบบไร้สาย ภายใต้เทคโนโลยีการสื่อสาร ภายใต้มาตราฐาน IEEE 802.11 ว่าอุปกรณ์ทุกตัวซึ่งต่างยี่ห้อกันนั้นมันสามารถติดต ่อสื่อสารกันได้โดยไม่มีปัญหา หากว่าอุปกรณ์ตัวนั้นมันผ่านตามมาตราฐานเขาก็จะปั๊ม ตรา Wi-Fi certified ซึ่งเป็นอันรู้กันว่าอุปกรณ์ชิ้นนั้นสามารถติดต่อสื่ อสารกับอุปกรณ์ตัวอื่นที่มีตรา Wi-Fi certified นี้ได้เช่นกัน แต่ทำไปทำมามันกลายเป็นคำศัพท์สำหรับ อุปกรณ์ Lan ไร้สาย ไปโดยปริยาย จนบางคนก็เรียกกันติดปาก

Wi-Max คืออะไร ดีอย่างไร ทำไมถึงมีการโปรโมทครับWiMAX คือการออกแบบโครงสร้างและอุปกรณ์สื่อสารแบบไร้สายที่ ได้ถูกพัฒนามาจาก Wireless LAN หรือ Wi-Fi ผลดีคือ ระยะทำการที่ครอบคลุมมากกว่าเครือข่ายแบบ Wireless LAN หลายเท่า แถมยังได้ความเร็วในการให้บริการสูงเทียบเท่ากัน จึงทำให้ สามารถเชื่อมต่อระหว่างตึกต่าง ๆ ได้ง่ายไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของภูมิประเทศอีกต่อไปนี่คือเทคโนโลยีในอนาคต(ที่ประเทศไทยจะได้ใช้ มั้ง!!)งั้นเรามาดูกันต่อเลยครับ ประโยชน์ของ WiMAX กับชีวิตประจำวันจะเห็นได้ว่า WiMAX มีจุดเด่นคือระยะทางที่ไกล ความเร็วที่สูง และไม่จำเป็นต้องใช้สายส่งสัญญาณ แถม WiMAX ยังมีการ เข้ารหัสข้อมูลที่ปลอดภัยสูงอีกด้วย WiMAX จะทำให้การติดตั้ง intenet ในสถานที่ต่าง ๆ ทำได้ง่าย เรื่องชุมสาย(จำกัด)จะหมดไป บริการอื่นๆ ก็จะมากมายหลากหลาก ด้วยเช่นเดียวกัน เนื่องจะ ระยะที่ไกล เป็นเท่าตัว แถมยังมีความเร็ว สูงอีกด้วยครับ ไม่ มีข้อจำกัดด้านภูมิประเทศและไม่ต้องอาศัยสายส่งสัญญา ณอีกด้วย เหมาะสำหรับอุปกรณ์แบบพกพาในการเดินทาง ช่วยให้ ผู้ใช้งานสามารถสื่อสารได้โดยให้คุณภาพในการสื่อสารท ี่ดี และมีเสถียรภาพขณะใช้งาน แม้มีการเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลาก็ตาม (มีNotebook นั่งเล่นในรถTaxiได้นะเนี่ย)

วันจันทร์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2553

NEWS UPDATE!!! :: เทคโนโลยี 3G คืออะไร ::


3G (สามจี หรือ ทรีจี) เป็นมาตรฐานโทรศัพท์มือถือในยุคที่ 3 ถูกพัฒนาและกำลังมาแทนที่ ระบบโทรศัพท์ 2G ซึ่ง 3G นั้นพัฒนาบนพื้นฐานของมาตรฐาน International Mobile Telecommunications 2000, IMT-2000 ภายใต้กลุ่มของ International Telecommunication Union (ITU)
3G หรือที่เรียกว่า ระบบ UMTS หรือ WCDMA ในระบบ GSM 850 , 900 , 1800 , 1900 และ 2100 (ที่เป็นสากลที่โทรศัพท์ระบบ 3G ต้องมี)

วันพฤหัสบดีที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2552

เมื่อ keyboard เสีย


เมื่อ keyboard เสีย
เราสามารถใช้โปรแกรมที่มากับ Windown xp มาแก้ขัดก่อนได้ คือ on-screen keyboard
ไปที่ start>run พิมพ์ OSK

วันพุธที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2552

เคยงงกันไหมว่าสัญลักษณ์ +R หรือ –R บนแผ่น DVD หมายถึงอะไร??



วันนี้เรามีวิธีเลือกซื้อแผ่นดีวีดีสำหรับใช้กับคอมพิวเตอร์มาฝากชาวมหานครแห่งความคิดของคนไอทีกัน เพราะเดี๋ยวนี้ราคาเครื่องบันทึกแผ่นดีวีดี หรือ DVD Writer ไม่ค่อยแพงแล้ว แถมราคาแผ่นยังอยู่ที่ประมาณแค่สิบกว่าถึงยี่สิบบาทเท่านั้น แต่ให้ความจุที่มากกว่าแผ่นซีดีทั่วไปถึงเกือบ 7 เท่า คืออย่างต่ำๆ ก็ประมาณ 4.7 กิกะไบต์นั่นละค่ะ เวลาบันทึกไฟล์วิดีโอก็ทำได้ในระดับที่ความละเอียดสูง ก็เลยมีคนนิยมใช้กันมากขึ้น



แต่ทุกๆคนทราบกันไหมว่าแผ่นดีวีดีที่วางขายอยู่ทั่วไปนั้น มีทั้งแบบบวก แบบลบ มีทั้งแบบ R และ RW เผลอๆ ไปเจอแบบ DL ด้วย ถ้าฟังแล้วงงล่ะก็ วันนี้เราจะมาเฉลยให้ทราบกันที่มีแผ่นหลายชนิดก็ปัญหาเดียวกันกับ HD-DVD และ Blu-ray คือ มีหลายค่ายแข่งกันผลิตออกมา ทะเลาะกันมาหลายปีจนมาลงตัวเมื่อไม่กี่ปีมานี้ ค่ายแรกก็คือ DVD Forum ที่พัฒนาแผ่น DVD-R และ DVD-RW ซึ่งแผ่นตระกูล -R นั้นเล่นได้ดีกับเครื่องเล่นดีวีดีตามบ้านเราทั่วไปแต่เขียนได้ครั้งเดียวและบันทึกซ้ำบนพื้นที่เดิมไม่ได้ ส่วนแบบ -RW นั้น เราสามารถสั่งล้างแผ่นแล้วเขียนข้อมูลลงไปซ้ำได้กว่า 1,000 ครั้งเลยล่ะ




อีกมาตรฐานหนึ่งที่ใกล้เคียงกันก็คือ DVD+R และ DVD+RW จากทางกลุ่ม DVD+RW Alliance ฝั่งนี้ก็ให้ความจุมาตรฐานที่ 4.7 กิกะไบต์เท่ากับ -R หรือ -RW แต่ใช้เทคโนโลยีในการบันทึกข้อมูลลงแผ่นที่ต่างออกไป ว่ากันว่ามีสามารถบันทึกข้อมูลได้แม่นยำกว่าในระดับความเร็วสูงๆ และมีระบบตรวจจับความผิดพลาดที่ดีกว่า แต่ถ้าเทียบอายุแล้วถือว่าอ่อนกว่าแผ่นดีวีดีตระกูลลบ



นั่นก็เลยทำให้เครื่องเล่นดีวีดีตามบ้านเรารุ่นเก่าๆส่วนใหญ่จะเล่นได้เฉพาะแผ่นที่เป็น -R เท่านั้น แต่สำหรับคนที่ใช้พีซีนั้นเดี๋ยวนี้ไดรฟ์ดีวีดีมักจะเป็นแบบ Super Multi ที่ทั้งเขียนและอ่านได้ทั้งแผ่น DVD-R/-RW และ DVD+R/+RW ทำให้ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องการเลือกแผ่น



นอกจากนี้ยังมีแผ่นอีกแบบนึงที่เรียกว่า DL หรือ Dual Layer ซึ่งก็ให้ความจุเพิ่มขึ้นอีกเกือบเท่าตัว เป็น 8.5 กิกะไบต์ โดยอาศัยการสร้างชั้นสำหรับบันทึกข้อมูลเพิ่มขึ้นมาซ้อนกันอีกหนึ่งชั้น และยังมีแผ่นประเภท Double Side หรือแผ่นแบบกลับใช้ได้ทั้ง 2 หน้าด้วย แต่ไม่ค่อยได้รับความนิยมซักเท่าไหร่ส่วนเวลาเลือกซื้อนั้น เดี๋ยวนี้จะใช้แผ่น - หรือ + ก็คงไม่ค่อยมีปัญหาถ้าเครื่องเล่นดีวีดีของคุณไม่ใช่รุ่นเก่ามาก แต่สังเกตกันไว้ซักนิดก็คงไม่เสียหาย อีกเรื่องนึงก็คือ ความเร็ว แผ่นพวกนี้จะมีความเร็วสูงสุดในการเขียนแผ่นติดมาให้ด้วย เช่น 4X, 8X, 12X เป็นต้น ยิ่งแผ่นที่เขียนได้เร็ว ก็ยิ่งมีราคาสูง และก็แน่นอนว่า มีโอกาสเกิดความผิดพลาดของข้อมูลได้ง่ายขึ้นด้วยฉะนั้นขอแนะนำว่าถ้าจะบันทึกอะไรสำคัญๆ ก็เขียนที่ความเร็วต่ำๆ ตั้งแต่ 4-8 เท่า ก็พอ ส่วนราคาของแผ่นดีวีดีที่บางทีราคาแตกต่างกันค่อนข้างเยอะ ทั้งๆ ที่เป็นแผ่นประเภทเดียวกันนั้น อันนี้ก็อยู่ที่กระบวนการผลิตและเกรดของแผ่น ซึ่งก็ส่งผลต่อความทนทานของแผ่นด้วย แต่ก็ไม่ใช่ว่าแผ่นเกรด B ราคาแผ่นละสิบบาทจะใช้ไม่ได้นะพอไหวเหมือนกัน ............

วิธีการเปลี่ยน File System จาก FAT32 เป็น NTFS โดยไม่ต้อง Format



ขั้นตอนการทำง่ายมากๆครับ

1. คลิ๊ก Start > Run

2. พิมพ์ cmd แล้วกด Enter

3. จากนั้นพิมพ์ CONVERT C: /FS:NTFS

4. จากนั้นจะห้เราใส่ Volume Label ของไดร์ฟที่เราจะเปลียน (ดู Volume Lable ได้จาก พิมพ์ dir/w จากนั้นดูตรงคำว่า Volume in drive C is XXXXXXX เอาตรง XXXXXXX มาใส่ครับ) จากนั้นกด Enter

5. จากนั้นจะขึ้นมาถามให้เราตอบ y ครับ เป็นอันเสร็จ
- ตรง C: นั้นให้เราเลือกไดรฟ์ที่เราจะต้องการแปลงเป็น NTFS ครับ ในที่นี่ผมจะเปลี่ยนให้

Intel 32 nm มาในชื่อ Core i5,Core i3



อีกไม่นานนี้เราจะได้พบกับซีพียูสายพันธุ์ใหม่ แม้ว่าจะเป็นชื่อที่เราจะได้ยินในเร็วๆนี้ อย่าง Core i5 ก็ตามที อัพเดตข่าวล่าสุดสำหรับสถาปัตยกรรม 32 นาโนนั้น มาแล้ว และจะใช้ชื่อ Core i5-600 และ Core i3-500
ตารางการออกผลิตภัณฑ์จากทางอินเทลได้ยืนยันมาแล้วอย่างแน่ชัดครับถึงซีพียูแบบ 32 นาโนเมตร รหัส Clarkdale จะเป็น Core i5 และ Core i3 ในส่วนของ Core i5 นั้นจะมีความถี่ตั้งแต่ 3.20 ถึง 3.46 GHz
สำหรับตลาดล่างนั้นอินเทลก็ส่ง Pentium ใหม่ล่าสุด G9650 ที่สร้างจากสถาปัตยกรรม 32 นาโนเช่นเดียวกัน ความเร็ว 2.8GHz หน่วยความจำระดับ 3 ขนาด 3MB

วิธีการแก้ไข Windows XP มัก Restart เองบ่อยๆ

ถ้า Windows XP มัก Restart เองบ่อยๆ ตามปกคิแล้ว Windows XP จะถูกกำหนดให้มีการ Restart เครื่องโดยอัตโนมัติเมื่อเกิดปัญหาขึ้นมา แต่บางคร้ง แต่อาจมีปัญหาขึ้นมาได้ว่าทำไม Windows XP มีการ Restart บ่อยผิดปกติ ซึ่งปัญหานี้เราสามารถแก้ไขได้โดย

1.คลิกเมาส์ขวาที่ My Computer แล้วคลิกเลือก Properties

2.เมื่อปรากฏไดอะล็อกบ็อกซ์ System Properties ให้คลิกแท็บ Acvanced

3.คลิกปุ่ม Settings ในกรอบคำสั่ง Startup and Recovery

4.ในไดอะล็อกบ็อกซื Startup and Recovery ให้คลิกยกเลิกเครื่องหมายถูกหน้าคำสั่ง Automatically Restart

5.คลิกปุ่ม ok

6.คลิกปุ่ม ok ในไดอะล็อกบ็อกซ์ System Properties

โครงสร้างของ Unix



ระบบปฏิบัติการ Unix สามารถแบ่งโครงสร้างหลัก ๆ ได้ 4 ระดับ แต่ละระดับก็จะทำหน้าที่ต่างกัน


1.ฮาร์ดแวร์ หมายถึงอุปกรณ์หรือทุกชิ้นส่วนของคอมพิวเตอร์ ที่เราสามารถจับต้องได้ เช่น จอภาพ คีย์บอร์ด เม้าส์ ดิกส์ไดรซ์ ซีดีรอม เป็นต้น



2.ยูนิกซ์ เคอร์เนล เคอร์เนล จะทำหน้าที่ควบคุมการทำงานทั้งหมดของระบบ ได้แก่ การจัดสรรทรัพยากร การจัดการข้อมูลบริการหน่วยความจำ ซึ่งเคอร์เนลนี้จะขึ้นกับฮาร์ดแวร์ เช่น ถ้ามีการเปลี่ยนแปลง ฮาร์ดแวร์ เคอร์เนลนี้ก็จะถูกเปลี่ยนไปด้วย เป็นต้น



3.เชลล์ คือ ตัวกลางระหว่างผู้ใช้กับตัวเคอร์เนล ทำหน้าที่รับคำสั่งจากผู้ใช้ แล้วนำไปแปลเป็นภาษาที่เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจ เราเรียกอีกอย่างหนึ่งได้ว่า command interpreter แต่ถ้ามีการนำ เชลล์หลาย ๆ ตัวมาเขียนรวมกัน (คล้าย ๆ กับ batch file ในระบบปฏิบัติการ DOS) เราจะเรียกว่า เชลล์สคริปต์ นอกจากนี้ เชลล์ (Shell) ยังมีอีกหลาย ๆ ประเภท แต่ที่นิยมกันได้แก่


Bourne shell (sh) เป็นเชลล์ต้นแบบของทุก ๆ เชลล์ มีความสามารถในการเขียน เชลล์สคริปต์ได้ด้วย

C shell (csh) เป็นเชลล์ที่สร้างหลัง Bourne shell ความสามารถพิเศษของ C shell คือเก็บข้อมูลเกี่ยวกับคำสั่งที่เคยใช้

Korn shell (ksh) ซึ่งพัฒนาโดย AT&T โดยได้นำคุณสมบัติเด่น ๆ ของ Bourne shell และ C shell มารวมกัน

Bourne again shell (bash) มีคุณสมบัติและความสามารถคล้ายกับ Korn shell แต่ shell นี้ถูกสร้างขึ้นมาใช้สำหรับแจกฟรี ซึ่งเป็นเหตุผลสำคัญที่ทาง Linux นำมาใช้คำสั่งที่ทำให้ทราบว่าเราใช้งาน เชลล์อะไรอยู่คือ echo $SHELL



4.โปรแกรมประยุกต์ หมายถึง โปรแกรมการใช้งานเพิ่มเติมต่าง ๆ ที่ใช้บนระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ ได้แก่ pine เป็นต้น

รู้จักกับ BIOS (Basic Input/Output System)

อุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ทุกชนิดที่เป็น ฮาร์ดแวร์ จะสามารถทำงานได้โดยต้องมี ซอฟท์แวร์ ประกอบด้วย


สำหรับ BIOS (Basic Input/Out System) นี้จะเป็นที่เก็บ ซอฟท์แวร์ ขนาดเล็ก ๆ ไว้ในชิป ROM (เป็นแบบ EPROM : Erasable Programmable Read-Only Memory) เพื่อใช้สำหรับทำการบูทเครื่องคอมพิวเตอร์จากแผ่น floppy disks (FDD) หรือจาก hard disks (HDD) โดยที่ BIOS จะทำหน้าที่ต่าง ๆ ที่จำเป็นสำหรับการ POST (Power-On Self Test) ก่อนที่จะเรียกใช้ ซอฟท์แวร์ ที่เป็น Operating System เช่น DOS หรือ Windows จาก FDD หรือ HDD เพื่อทำการเริ่มต้นเครื่องคอมพิวเตอร์ ให้สามารถทำงานได้ต่อไปนอกจากนี้ BIOS ยังเป็นตัวกำหนดค่าต่าง ๆ ให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยจะควบคุมการทำงานของ Keyboard, ควบคุมการทำงานของ Serial Port, Parallel Port, Video Card, Sound Card, HDD Controller และอื่น ๆ ในบางครั้ง เครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นเก่า ๆ เมื่อมีอุปกรณ์ใหม่ ๆ เพิ่มเติมเข้ามาหาก BIOS ไม่สามารถรู้จักและใช้งานได้ จำเป็นต้องมีการแก้ไขโปรแกรมหรือซอฟท์แวร์ที่บรรจุใน BIOS ให้รู้จักกับอุปกรณ์ใหม่ ๆ นั้นด้วยที่เรียกกันว่า Flash BIOS นั่นเองสำหรับปัจจุบันนี้ BIOS จะเก็บไว้ใน EPROM ซึ่งเป็นหน่วยความจำชนิดหนึ่งที่ปกติจะใช้สำหรับอ่านได้อย่างเดียว (ส่วนใหญ่จะเป็นไอซีตัวสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ อยู่บนเมนบอร์ด) โดยที่เราสามารถทำการ ลบข้อมูลและโปรแกรมข้อมูล ลงไปใหม่ได้โดยใช้ซอฟท์แวร์ที่ออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับการ Flash BIOS นั้น ๆ ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับชนิดของ BIOS EPROM และเมนบอร์ดด้วยนะครับว่าสามารถ Flash ได้หรือเปล่าโดยวิธีการง่าย ๆ คือตรวจสอบจากเวปไซต์ของผู้ผลิดเมนบอร์ดนั้น ๆ (โดยส่วนใหญ่แล้ว เมนบอร์ดสำหรับ Pentium ขึ้นไปส่วนใหญ่จะทำการ Flash ได้แล้ว)โดยปกติแล้ว อุปกรณ์ต่าง ๆ จะมีการตั้งค่า Configuration ที่แตกต่างออกไปได้ ซึ่งค่าเหล่านี้จะถูก BIOS เก็บไว้ในส่วนของ CMOS RAM ประมาณ 64 Bytes ซึ่ง CMOS นี้จะต้องมีการจ่ายไฟเลี้ยงอยู่ตลอดเวลาจาก แบตเตอรี่ เพื่อให้ค่าที่ตั้งไว้ไม่หายไปเมื่อปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งในส่วนของ CMOS นี้จะเป็นเทคโนโลยีที่มีการใช้พลังงานน้อยมาก ดังนั้นจึงสามารถใช้งานได้นานโดยไม่ต้องคอยเปลี่ยนแบตเตอรี่บ่อย ๆเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดของการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ จำเป็นต้องทำการตั้งค่าต่าง ๆ ใน BIOS ให้เหมาะสมเช่น ค่าความเร็วของการอ่านข้อมูลจาก Memory การตั้ง Enabled หรือ Disabled อุปกรณ์ต่าง ๆ, ความเร็วของ PCI BUS, ชนิดของ Floppy Disk หรือ Hard Disk ที่ใช้งาน, อุปกรณ์ต่อพ่วงต่าง ๆ เช่น SCSI และอื่น ๆ อีกมากมายที่มีอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์



BIOS ที่มีใช้งานอยู่ส่วนใหญ่จะมีอยู่ 2 บริษัทคือของ

AMI BIOS (American Megatrends Inc) และ AWARD (ปัจจุบันรวมเข้ากับ Phoenix Technologies, Ltd. แล้ว) นอกจากนี้ก็จะมี BIOS ที่เป็นของแบนด์เนมต่าง ๆ เช่น COMPAQ หรือ IBM ซึ่งจะมีหน้าตาและวิธีการตั้งค่าแตกต่างออกไปด้วยสรุปว่า BIOS มีความสำคัญมากในระบบคอมพิวเตอร์ ถ้าไม่มี BIOS เราก็ไม่สามารถเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ได้

Power-Line Networking


Power-Line Networking Intellon ( PowerPacket ) และ Intelogis ( Passport )
มีวิธีเฉพาะของตน ที่ไม่เหมือนกัน ในการใช้สายไฟในการสร้างเป็นระบบเน็ตเวิร์ค โดยที่ Intelogis เจ้าของเทคโนโลยี Passport นั้นใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า Frequency-Shift Keying หรือ FSK ในการรับส่งข้อมูล โดยที่เทคนิคนี้ จะใช้คลื่นความถี่ 2 ระดับในการแบ่งสัญญาณข้อมูล โดยให้ระดับหนึ่งในการแทนค่า "1" และอีกระดับหนึ่งสำหรับแทนค่า "0" เพื่อใช้ส่งสัญญาณแบบ Digital นั่นเอง


การแชร์อินเทอร์เน็ต



การแชร์อินเทอร์เน็ต

1.คลิกที่ปุ่ม Start

2.เลื่อนเมาส์ไปที่ Connect to

3.คลิกที่ Show all Connections

4.จะปรากฏหน้าต่าง Network Connections ขึ้นมาให้คลิกขวาที่ไอคอน Local Area Connection ที่เราต้องการแชร์

5.คลิกคำสั่ง Properties

6.ให้คลิกแท็บ Advanced

7.ที่ Internet Connection sharing ให้ติ๊กเครื่องหมายถูกที่ช่อง Allow other network to connect this computer?s Internet connection

8.จากนั้นคลิกปุ่ม Ok ก็เป็นอันว่าเราสามารถแชร์อินเทอร์เน็ตให้กับเครื่องลูกข่ายได้แล้ว

SNMP คืออะไร


เครือข่ายอินทราเน็ตที่ใช้โปรโตคอล TCP/IP มีอุปกรณ์เครือข่ายแบบหลากชนิกและหลายยี่ห้อ แต่มาตรฐานการจัดการเครือข่ายที่ใช้งานได้ผลดีคือ SNMP


SNMP ย่อมาจาก Simple Network Management Protocol ซึ่งเป็นโปรโตคอลที่อยู่ระดับบนในชั้นการประยุกต์ และเป็นส่วนหนึ่งของชุดโปรโตคอล TCP/IP ในการบริการและจัดการเครือข่ายต้องใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ มีส่วนของการทำงานร่วมกับระบบจัดการเครือข่าย ซึ่งเราเรียกว่า เอเจนต์ (Agent) เอเจนต์เป็นส่วนของซอฟต์แวร์ที่อยู่ในอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เชื่อมอยู่ในเครือข่ายโดยมีคอมพิวเตอร์หลักในระบบหนึ่งเครื่องเป็นตัวจัดการและบริหาร เครือข่ายหรือเรียกว่า NMS-Network Management System



ความสำคัญของ NMS


NMS ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการควบคุม และเฝ้ามองเครือข่ายมีระบบเตือนเมื่อมีส่วนหนึ่งส่วนใดของเครือข่ายทำงานผิดพลาด หรือเกิดข้อขัดข้อง ทำให้ผู้ดูแลระบบทราบได้ทันที และเข้าไปทำการแก้ไขได้รวมเร็ว หน้าที่หลักของ NMS คือการตรวจสอบเครือข่ายตลอดเวลา ทำรายงานสถิติการใช้เครือข่าย เช่น สถิติของปริมาณข้อมูล ปริมาณผู้ใช้ สามารถเขียนเป็นกราฟเพื่อให้ผู้ดูแลระบบนำไปวิเคราะห์และวางแผนขยายเครือข่าย ผู้ดูแลระบบยังสามารถตรวจสอบและแก้ไขระบบจากจุดศูนย์กลาง รวมถึงการติดตั้งซอฟต์แวร์ การตั้งค่าระบบให้กับอุปกรณ์เครือข่ายที่อยู่ห่างไกล NMS จึงเป็นอุปกรณ์ที่ระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ หรือผู้ให้บริการเครือข่ายแบบสาธารณะที่มีผู้ใช้บริการจำนวนมากจำเป็นต้องมี เพราะเป็นอุปกรณ์ที่ทำให้การเฝ้ามองระบบเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจุบันแม้แต่เครื่องอินทราเน็ตมีอุปกรณ์ต่าง ๆ ประกอบรวมกันมีความซับซ้อนมากขึ้น NMS จึงมีส่วนสำคัญในการบริหารและจัดการเครือข่ายอินทราเน็ต



การที่ระบบบริหารและจัดการเครือข่ายจะประสบผลสำเร็จ จึงขึ้นกับระบบซอฟต์แวร์ที่ต้องมีอยู่ในตัวอุปกรณ์เครือข่าย (เอเจนต์) ส่วนของเอเจนต์ยังมีการเก็บข้อมูลไว้ภายใน ข้อมูลที่เก็บไว้นี้เรียกว่า MIB - Management Information Base การทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ บนเครือข่ายจะมีส่วนข้อมูลของตัวเองเก็บไว้ที่ MIB ดังนั้น NMS จึงส่งคำถามมายังเอเจนต์ การส่งคำถามและเอเจนต์ส่งข้อมูลคำตอบนี้ย่อมเป็นไปตามมาตรฐานโปรโตคอลที่กำหนด เช่น ลักษณะคำถามคำตอบของ SNMP ที่สอบถามกันเป็นระบบ และเป็นมาตรฐานสากล ข้อมูลในฐานข้อมูลที่เก็บในเอเจนต์ของแต่ละอุปกรณ์ประกอบด้วย ข้อมูลชื่ออุปกรณ์ รหัสอุปกรณ์ หมายเลขแอดเดรสบนเครือข่าย ตารางกำหนดเส้นทางปริมาณข้อมูลที่รับส่ง ข้อผิดพลาดที่ปรากฏ ฯลฯ


ดังนั้นระบบ NMS จึงได้ข้อมูลของทุกอุปกรณ์ที่มีเอเจนต์อยู่ และนำข้อมูลเหล่านั้นมาแสดงผลในเชิงวิเคราะห์ต่าง ๆ ไดอะแกรมรูปภาพของเครือข่ายทางฟิสิคัล การนำข้อมูลมาแสดงผลนี้ NMS ส่งคำถามไปเป็นระยะ และรับคำตอบมาปรับปรุงข้อมูล หากส่งคำถามไปยังตัวอุปกรณ์ที่มีในระบบและไม่ได้รับคำตอบก็จะมีวิธีการตรวจสอบอย่างอื่นประกอบ เช่น อุปกรณ์นั้นมีปัญหาอย่างไรหรือไม่หากพบปัญหาก็จะแสดงปัญหาเพื่อให้ผู้ดูระบบทราบ ระบบบริหารและจัดการเครือข่ายจึงเป็นซอฟต์แวร์ที่นำข้อมูลจากเอเจนต์ต่าง ๆ มาแสดงผล และติดต่อกับผู้ดูแลระบบ ดังนั้นจึงมีผู้พัฒนาระบบ NMS ในรูปแบบต่าง ๆ กันมาก ผู้ดูแลและบริหารเครือข่ายสามารถเลือกใช้ซอฟต์แวร์ NMS ได้ โดยมีผู้ผลิตซอฟต์แวร์ หรือผู้ผลิตอุปกรณ์สื่อสารที่อยู่บนอินเทอร์เน็ตให้ดาน์โหลดมาลองใช้ดูก่อน



พัฒนาการของ NMS ได้ก้าวหน้าขึ้นเป็นลำดับ การสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ใช้บนเครือข่ายเป็นสิ่งสำคัญ NMS จึงเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นและเข้ามามีบทบาทสำคัญในเทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์


Wireless LAN



ระบบเครือข่ายแบบ Wireless LAN หรือ WLAN หรืออาจแปลเป็นภาษาไทยได้ว่า ระบบเครือข่ายไร้สาย เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เป็นเครือข่ายแบบไร้สาย (ไม่จำเป็นต้องเดินสายเคเบิ้ล) เหมาะสำหรับการติดตั้งในสถานที่ที่ไม่สะดวกในการเดินสาย หรือในสถานที่ที่ต้องการความสวยงาม เรียบร้อย และเป็นระเบียบ เช่น สนามบิน โรงแรม ร้านอาหาร เป็นต้น


หลักการทำงานของระบบ Wireless LAN


การทำงานจะมีอุปกรณ์ในการส่งสัญญาณ และกระจายสัญญาณ หรือที่เราเรียกว่า Access Point และมี PC Card ที่เป็น LAN card สำหรับในการเชื่อมกับ access point โดยเฉพาะ การทำงานจะใช้คลื่นวิทยุเป็นการรับส่งสัญญาณ โดยมีให้เลือกใช้ตั้งแต่ 2.4 to 2.4897 Ghz และสามารถเลือก config ใน Wireless Lan (ภายในระบบเครือข่าย Wireless Lan ควรเลือกช่องสัญญาณเดียวกัน)



ระยะทางการเชื่อมต่อของระบบ Wireless LAN


ภายในอาคาร ระยะ 50 เมตร ได้ความเร็วประมาณ 11 Mbps

ระยะ 80 เมตร ได้ความเร็วประมาณ 5.5 Mbps

ระยะ 120 เมตร ได้ความเร็วประมาณ 2 Mbps

ระยะ 150 เมตร ได้ความเร็วประมาณ 1 Mbps


ภายนอกอาคาร

ระยะ 250 เมตร ได้ความเร็วประมาณ 11 Mbps

ระยะ 350 เมตร ได้ความเร็วประมาณ 5.5 Mbps

ระยะ 400 เมตร ได้ความเร็วประมาณ 2 Mbps

ระยะ 500 เมตร ได้ความเร็วประมาณ 1 Mbps



ประโยชน์ของระบบ Wireless LAN


สะดวกในการเคลื่อนย้าย ติดตั้ง เนื่องจาก WLAN ไม่จำเป็นต้องมีสายเคเบิ้ลในการต่อพ่วง ง่ายในการติดตั้ง เพราะไม่จำเป็นต้องเดินสายเคเบิ้ล ลดค่าใช้จ่าย เนื่องจากไม่ต้องจำเป็นต้องเสียค่าบำรุงรักษา ในระยะยาว สามารถขยายเครือข่ายได้ไม่จำกัด
 
DRR-Inhouse Consultance. Design by Nattaya Tiengtrong.